นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ 35.99 บาทต่อดอลลาร์ “อ่อนค่าลงเล็กน้อย แทบไม่เปลี่ยนแปลง” จากระดับปิดวันก่อนหน้า ที่ระดับ 35.98 บาทต่อดอลลาร์
นับตั้งแต่ช่วงคืนก่อนหน้า ค่าเงินบาทผันผวนในกรอบ sideways (แกว่งตัวในช่วง 35.94-36.00 บาทต่อดอลลาร์) โดยมีจังหวะอ่อนค่าทดสอบโซนแนวต้านสำคัญ 36.00 บาทต่อดอลลาร์
ตามการแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์ที่ยังพอได้ปัจจัยหนุนจากการปรับตัวขึ้นเล็กน้อยของบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ
ท่ามกลางความกังวลของผู้เล่นในตลาดต่อแนวโน้มดอกเบี้ยเฟด อย่างไรก็ดี การอ่อนค่าของเงินบาทยังคงไม่สามารถทะลุผ่านโซนแนวต้านได้ เนื่องจากผู้เล่นในตลาดต่างก็รอลุ้นผลการประชุมบรรดาธนาคารกลางหลักที่จะเริ่มต้นด้วยการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ในวันอังคารนี้ นอกจากนี้ ผู้เล่นในตลาดบางส่วน อย่าง ฝั่งผู้ส่งออกก็ยังคงทยอยขายเงินดอลลาร์อยู่ ทำให้การอ่อนค่าของเงินบาทนั้นชะลอลงบ้าง
สำหรับวันนี้ ไฮไลท์สำคัญจะอยู่ที่ผลการประชุม BOJ โดยเราประเมินว่า BOJ อาจยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ -0.10% ตามเดิม ทว่า BOJ อาจมีการส่งสัญญาณที่ชัดเจนมากขึ้นต่อแนวโน้มการทยอยใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น อาทิ การทยอยปรับลดการเข้าซื้อสินทรัพย์ หรืออาจมีการส่งสัญญาณว่า BOJ อาจทยอยยกเลิก Yields Curve Control ได้
ซึ่งหาก BOJ มีการส่งสัญญาณพร้อมใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น ก็อาจพอช่วยชะลอการอ่อนค่าของเงินเยนญี่ปุ่น (JPY) ได้บ้าง ในทางกลับกัน หากไม่มีการส่งสัญญาณใดๆ เกี่ยวกับการใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้น เราคาดว่า เงินเยนมีโอกาสผันผวนอ่อนค่ากลับไปทดสอบโซน 150 เยนต่อดอลลาร์ ได้ไม่ยาก (ซึ่งจะเป็นโอกาสในการรอเพิ่มสถานะ Long JPY ได้)
สำหรับ แนวโน้มของค่าเงินบาท เราประเมินว่า เงินบาทเสี่ยงที่จะผันผวนสูง โดยเฉพาะในช่วงตลาดทยอยรับรู้ผลการประชุม BOJ เพราะหาก BOJ ส่งสัญญาณพร้อมใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น หรือ มีการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดได้จริง ก็อาจหนุนให้ เงินเยนพลิกกลับมาแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องจากโซนเหนือระดับ 149 เยนต่อดอลลาร์ สู่โซน 148 เยนต่อดอลลาร์ได้ไม่ยาก ซึ่งในภาพดังกล่าวก็อาจช่วยชะลอการอ่อนค่าลงของเงินบาท ทำให้เงินบาททยอยกลับมาแข็งค่าขึ้นได้บ้าง ในทางกลับกัน หาก BOJ ย้ำจุดยืนใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายไปก่อนอ่อน จนกว่าจะมั่นใจในทิศทางอัตราเงินเฟ้อ ก็จะยิ่งกดดันให้ เงินเยนผันผวนอ่อนค่า กลับไปเหนือระดับ 150 เยนต่อดอลลาร์ ได้อย่างรวดเร็วเช่นกัน ซึ่งในกรณีดังกล่าว เงินบาทมีโอกาสอ่อนค่าทะลุ 36.00 บาทต่อดอลลาร์ ไปทดสอบโซนแนวต้านถัดไปแถว 36.20 บาทต่อดอลลาร์
ควรจับตาทิศทางฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติ หลังล่าสุดนักลงทุนต่างชาติกลับมาเทขายสินทรัพย์ไทยเพิ่มเติม โดยเฉพาะในส่วนบอนด์ไทย ทั้งบอนด์ระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่กดดันให้เงินบาทผันผวนอ่อนค่าลง
มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 35.85-36.15 บาท/ดอลลาร์
ด้านฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด35.97 บาท/ดอลลาร์ ใกล้เคียงกับราคาปิดตลาดเมื่อวานที่ระดับ 35.98 บาท/ดอลลาร์
ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์ก ขณะที่นักลงทุนจับตาการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางหลายแห่งในสัปดาห์นี้ ซึ่งรวมถึงธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด), ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ), ธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) และธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) โดยการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ระหว่างวันที่ 19-20 มี.ค.นี้
โดยรอฟังถ้อยแถลงของประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) รวมทั้งการคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Dot Plot) เกี่ยวกับความชัดเจนของการปรับลดอัตราดอกเบี้ย ซึ่ง FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 99.0% ที่เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 5.25-5.50% ในการประชุมครั้งนี้
รวมถึงธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ตลาดรอผลการประชุมยุติการใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบ โดยคาดว่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจาก -0.1% สู่ระดับ 0.0%
นอกจากนี้ สัปดาห์นี้มีข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐที่สำคัญได้แก่ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นต้นเดือนมี.ค.จากเอสแอนด์พี โกลบอล, ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์
เมื่อวานนักลงทุนต่างชาติขายพันธบัตรไทยสุทธิ6,023 ล้านบาท และขายหุ้นไทยสุทธิ 297 ล้านบาท
กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ USD/THB 35.80- 36.10 *แนะนำ ทยอยซื้อที่ 35.80/ ขาย 36.10
EUR/THB 39.00- 39.40 * แนะนำ ซื้อ39.00/ ขาย 39.40
JPY/THB 0.2400- 0.2440 * แนะนำ ซื้อ0.2400/ ขาย 0.2440 GBP/THB 45.50- 46.00 AUD/THB 23.30 – 23.80
กลุ่มงานตลาดการเงิน ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินค่าเงินบาทวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 35.95-36.15 บาท/ดอลลาร์
เงินบาทอ่อนค่าต่อเล็กน้อยในกรอบ ส่วน US Treasury yields ยังปรับสูงขึ้นต่อเนื่อง โดย Yield อายุ 2 ปีทำจุดสูงสุดในปีนี้ และเงินดอลลาร์แข็งค่าต่อคำพูดจาก เว็บสล็อตเว็บตรง
วันนี้จับตาการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ซึ่งมีโอกาสที่จะขึ้นดอกเบี้ย โดย SCB FM ประเมินว่าหาก BOJ ขึ้นดอกเบี้ยไม่มาก (เช่น ปรับจาก -0.1% เป็น 0%) เงินเยนน่าจะแข็งค่าอีกเล็กน้อย แต่หากไม่ขึ้นดอกเบี้ย เงินเยนมีโอกาสอ่อนค่าต่อ
คาดว่า BOJ จะยกเลิกมาตรการ YCC และการซื้อ ETF
รู้จัก “รยูจุนยอล” นักแสดงมากความสามารถ หนุ่มผู้ครองหัวใจสาวฮันโซฮี
ลูกน้องบิ๊กโจ๊ก แฉ! เส้นทางการเงิน “นายพล ต.-ครอบครัว”โยงเว็บพนัน BNK
เริ่มแล้ว! พายุฤดูร้อนถล่มหนัก! ฝนตก-ลูกเห็บตก บ้านเรือนเสียหายเพียบ